ไม่มีบทความ
ไม่มีบทความ

จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology)
.....การศึกษาพยายามที่จะช่วยเหลือคนในการปรับตัวได้อย่างดีที่สุดส่วนจิตวิทยาเป็นศาสตร์ คำนึงเกี่ยวกับการปรับตัวของคนดังนั้นจิตวิทยาการศึกษาจะเป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการปรับตัวของคนไปปฏิบัติจริงเพื่อช่วยเหลือในการปรับตัวดังนั้นหน้าที่สำคัญประการแรกคือการจัดการ เกี่ยวกับเรื่องการเรียนรู้ การเรียนการสอนซึ่งจะเป็นเรื่องราวทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา อันได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีแรงจูงใจ และทฤษฎีพัฒนาการ ลักษณะธรรมชาติผู้เรียน สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเรียนรู้ตลอดจนวิธีการนำความรู้ความเข้าใจที่เกิดขึ้นไปประยุกต์ใช้ปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปช่วยในการปรับตัวให้ดีขึ้น
.....Horace B. English and Ava C. English ซึ่งได้กล่าวถึง ความหมายของจิตวิทยาว่า จิตวิทยาเป็นสาขาหนึ่งของวิทยาศาสตร์ ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับ
..... - พฤติกรรม (Behavior)
..... - การกระทำ (Acts)
..... - กระบวนการคิด (Mental process)
.....ไปพร้อมกับการศึกษาเรื่อง สติปัญญา, ความคิด , ความเข้าใจ การใช้เหตุผล การเข้าใจตนเอง (Selfconcept)ตลอดจนพฤติกรรมของบุคคลด้วยจิตวิทยาการศึกษา ซึ้งเป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษา ให้เข้าใจเกี่ยวกับ พฤติกรรมของมนุษย์ องค์ประกอบที่สำคัญของการจัดการ จึงครอบคลุมผู้เรียน ผู้สอน และสิ่งแวดล้อม

ขอบข่ายของจิตวิทยาการศึกษาจึงมีในเรื่องต่อไปนี้
.....1. ศึกษาเรื่องประวัติความเป็นมาของจิตวิทยา แนวคิดของนักจิตวิทยา ที่มีผลต่อการเรียนรู้
.....2. ศึกษาองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยเน้นเรื่อง ความแตกต่างระหว่างบุคคลในเรื่อง สติปัญญา ความถนัด ความสนใจ ทัศนคติ และแรงจูงใจ เป็นต้น
.....3. การเรียนรู้ โดยเน้นศึกษาธรรมชาติของการเรียนรู้ องค์ประกอบของการเรียนรู้ การแก้ปัญหาโดยอาศัยหลักการเรียนรู้ การถ่ายโยง ตลอดจนการจัดสภาพการเรียนรู้ต่าง ๆ
.....4. การประยุกต์เทคนิคและวิธีการเรียนรู้ โดยผู้สอนเน้นให้ ผู้เรียนสามารถนำ เทคนิคและวิธีการไปใช้ในการเรียนการสอนการแก้ปัญหาในการพัฒนาตน
.....5. การปรับพฤติกรรม โดยเน้นการปรับพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา ไปสู่พฤติกรรมที่พึงปรารถนา โดยใช้หลักการเรียนรู้ เป็นต้น
.....6. เทคนิคและวิธีการต่างๆ ที่ใช้ในการศึกษาจิตวิทยา เช่น การสังเกต การสำรวจ การทดลอง และศึกษาเป็นรายกรณีวัตถุประสงค์ของจิตวิทยาการศึกษา

Good win and Klausmeier ได้กล่าวอยู่ 2ประการ คือ
.....1. เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่และจัดรวบรวมอย่างมีระบบเข้าเป็นทฤษฎีหลักการและข้อมูลต่างๆเกี่ยวข้องลักษณะนี้เป็นศาสตร์ทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ (behavioral science)
.....2. เป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการเรียนและผู้เรียนมาจัดรูปแบบเพื่อให้ผู้สอน ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้นำทฤษฎีและหลักการไปใช้ผู้สอนซึ่งมีหลักทางจิตวิทยาดี ย่อมจะสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าเพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ผู้สอนเข้าใจ

จิตวิทยาการศึกษามีขอบข่ายกว้างขวาง และมีส่วนเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาอื่น ดังนี้
.....1. จิตวิทยา (Psychology) คือ ศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ และสัตว์ การศึกษาค้นคว้าทางจิตวิทยาในปัจจุบันใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งมีการรวบรวมข้อมูลอย่างมีกฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผน
.....2. จิตวิทยาพัฒนาการ (Developmental Psychology) เป็นการค้นคว้าถึงการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนถึงวัยชรารวมทั้งอิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการและลักษณะความต้องการความสนใจของคนในวัยต่างๆ ซึ่งอาจแบ่งเป็น จิตวิทยาเด็ก จิตวิทยาวัยรุ่น จิตวิทยาผู้ใหญ่
.....3. จิตวิทยาสังคม (SocialPsychology)เป็นการศึกษาค้นคว้าถึงพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีต่อปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทางสังคม จิตวิทยาสังคมเกี่ยวพันถึงวิชาอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สังคมวิทยา(Sociology)และมนุษยวิทยารวมทั้งเกี่ยวพันถึงสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวันของมนุษย์อย่างมากเป็นต้นว่าการเมืองศาสนาเศรษฐศาสตร์สุขภาพจิต
.....4. จิตวิทยาอปกติ (Abnormal Psychology) เป็นการศึกษาถึงความผิดปกติต่าง ๆ เช่น โรคจิต และโรคประสาท ความผิดปกติอันเนื่องจาก ความเครียดทางจิตใจ เป็นต้น
.....5.จิตวิทยาประยุกต์ (AppliedPsychology)เป็นการนำความรู้และกฎเกณฑ์ทางจิตวิทยาแขนงต่างๆมาดัดแปลงใช้ให้เกิดประโยชน์หรือนำไปใช้แก้ปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น นำไปใช้ในการรักษาพยาบาล การให้คำปรึกษาหารือในวงการอุตสาหกรรม การควบคุมผู้ประพฤติผิด เป็นต้น
.....6. จิตวิทยาการเรียนรู้ (Psychology of learning) เป็นการศึกษาทฤษฎีการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ ธรรมชาติของการเรียนรู้ การคิด การแก้ปัญหา การจำ การลืม รวมถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวขอ้ง
.....7.จิตวิทยาบุคลิกภาพ (Psychology of Personality) เป็นการศึกษาคุณลักษณะเฉพาะตัว ของบุคคลที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมที่ทำให้บุคคลมีความแตกต่างระหว่างบุคคลหรือแตกต่างจากบุคคลอื่น ทั้งในด้านแนวคิด ทัศนคติ การปรับตัวและการแก้ปัญหา

ประโยชน์ของจิตวิทยาการศึกษามีดังต่อไปนี้
.....1. ช่วยให้ผู้สอนสามารถเข้าใจตนเอง พิจารณา ตรวจสอบตนเอง ทั้งในด้านดีและข้อบกพร่อง รวมทั้งความสนใจ ความต้องการ ความสามารถ ซึ่งจะทำให้สามารถคิด และตัดสินใจกระทำสิ่งต่าง ๆได้อย่างเหมาะสม
.....2. ช่วยให้ผู้สอน เข้าใจทฤษฎีวิธีการใหม่ ๆ และสามารถนำความรู้เหล่านั้น มาจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตลอดจนนำเทคนิคการใช้ได้เหมาะสมและเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง เช่นใน การเรียนสิ่งที่เป็นนามธรรมผู้สอนจำเป็นต้องใช้วัสดุอุปกรณ์เพื่อประกอบการสอนเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น
.....3. ช่วยให้ผู้สอนเข้าใจธรรมชาติความเจริญเติบโตของผู้เรียนและสามารถจัดการเรียน การสอนให้เหมาะสม กับธรรมชาติ ความต้องการ ความสนใจ ของผู้เรียนแต่ละวัยได้
.....4. ช่วยให้ผู้สอน เข้าใจ และสามารถเตรียมบทเรียน วิธีสอน วิธีจัดกิจกรรมตลอดจนวิธีการวัดผล ประเมินผลการศึกษา ให้สอดคล้องกับความเจริญเติบโตของผู้เรียน ตามหลักการ
.....5. ช่วยให้ผู้สอน รู้จักวิธีการศึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคล เพื่อหาทางช่วยเหลือแก้ปัญหา และส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนให้เป็นไปอย่างดีที่สุด
.....6.ช่วยให้ผู้สอนมีสัมพันธ์ภาพที่ดีกับผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถทำงานกับผู้เรียนได้อย่าง
ราบรื่น
.....7. ช่วยให้ผู้บริหารการศึกษา ได้วางแผนการศึกษา การจัดหลักสูตร อุปกรณ์การสอน และการบริหารได้อย่างถูกต้อง
.....8.ช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดีรู้จักจิตใจคนอื่นรู้ความต้องการความสนใจและปรับตัวให้เข้ากับลักษณะเหล่านั้นได้ก็จะทำให้เราสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างปกติสุข

แหล่งที่มาของข้อมูล http://centered.pi.ac.th/elearning/lampang/mui/t5.htm/

.....จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การที่เหมาะสมกับประเทศไทย :
.....การเรียน การสอน และการวิจัย โดย รศ.ดร. ชูชัย สมิทธิไกร ภาคจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จิตวิทยาองค์การ (organizational psychology)
.....ป็นศาสตร์ที่ศึกษาทางจิตวิทยาเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานในการนำมาซึ่งความเป็นอยู่ที่ดีของบุคลากรทุกระดับในบริบทของการทำงาน ซึ่งยังผลให้องค์การสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของประเทศไทยตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบันที่จำเป็นต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเพิ่มคุณภาพ ประสิทธิภาพและผลิตภาพอาชีพของนักจิตวิทยาองค์การ
.....1. เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาองค์การ
.....2. ทำงานด้านบริหารทรัพยากรบุคคล
.....3. เป็นที่ปรึกษาการบริหารองค์การ
.....4. เป็นนักฝึกอบรมด้านทรัพยากรมนุษย์ และพฤติกรรมศาสตร์
.....5. ทำงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยาองค์การ เช่น นักการตลาด นักออกแบบและการประเมินผล
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

นักบริหารในองค์การต่าง ๆจบแล้วทำงานอะไร?
.....1. ผู้บริหารด้านทรัพยากรมนุษย์หรือผู้บริหารทั่วไป
.....2. ที่ปรึกษาองค์การทางจิตวิทยาองค์การ
.....3. ครู อาจารย์ในสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชน
.....4. นักวิจัยทางจิตวิทยาองค์การ

จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ (industrial and organizational psychology)
.....คือศาสตร์ที่มุ่งศึกษาพฤติกรรมการทำงานของมนุษย์ (Muchinsky, 1993) และประยุกต์ใช้ข้อเท็จจริงและหลักการทางจิตวิทยาเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของมนุษย์ภายในองค์การ (Blum & Naylor, 1968) จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การเป็นจิตวิทยาสาขาหนึ่งซึ่งมีอดีตอันสั้น แต่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน(a short past but a long history) ในสหรัฐอเมริกา จุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การเกิดขึ้นในราวต้นศตวรรษที่ 20 เพราะฉะนั้นจนถึงบัดนี้ก็นับเป็นเวลาร่วมหนึ่งร้อยปีแล้ว แต่หากสืบย้อนกลับไปในอดีต ก็จะพบว่าแท้ที่จริงแล้วการสรรหาและการคัดเลือกบุคลากร (โดยเฉพาะผู้ที่เหมาะสมจะเป็นทหาร) ด้วยการทดสอบสมรรถภาพทางกายได้เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยคริสตกาลแล้ว (Stagner, 1982)
.....สำหรับประเทศไทย จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การยิ่งมีอดีตที่สั้นมาก (แม้ว่าอาจจะมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานก็ตาม) การเรียนการสอนในสาขานี้ อาจจะกล่าได้ว่าเพิ่งกำเนิดขึ้นมาไม่เกิน 30 ปีที่แล้วมา ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นหน่วยงานแรกที่ได้เริ่มผลิตบัณฑิตสาขาจิตวิทยา อุตสาหกรรมเมื่อปี พ.ศ.2509 โดยในระยะเริ่มต้นได้ใช้ชื่อว่าจิตวิทยาบริการ (service psychology) เมื่อเวลาผ่านไปเกือบสามสิบปี
.....วิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การก็ได้เติบโตแข็งแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จนในปัจจุบันนี้ มีสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมหรือจิตวิทยาองค์การในระดับปริญญาตรี น้อยกว่า 4 แห่ง และมีสถาบันที่ผลิตมหาบัณฑิตสาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ รวมทั้งสิ้น 3 แห่ง (ธรรมศาสตร์,เกษตรศาสตร์ และเชียงใหม่) หากจะนับอย่างคร่าวๆ ประเทศไทยมีบัณฑิตทั้งในระดับปริญญาตรีและโท สาขานี้ไม่ต่ำกว่า 1,000 คน (เฉพาะมหาวิทยาลัยเชียงใหม่แห่งเดียว มีประมาณ 500 คน)
.......อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศไทยจะมีการเรียนการสอนและการวิจัยทางจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การมานานหลายสิบปี และมีบัณฑิตสาขานี้ในจำนวนไม่น้อย แต่ก็ยังคงมีปัญหาท้าทายที่รอคำตอบอยู่อีกหลายประการ กล่าวคือ
.......ระการที่ 1 อาจจะกล่าวได้ว่าผู้คนทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการธุรกิจอุตสาหกรรมยังไม่รู้จักและไม่เข้าใจว่าจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การคืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร? ประโยคแรกที่บุคคลในวงการเหล่านี้มักจะถามก็คือ “อ๋อ ทำงานเกี่ยวกับโรงงานอุตสาหกรรมหรือ?”
.......ประการที่ 2 บัณฑิตรวมทั้งอาจารย์ผู้สอนสาขาวิชานี้ มีความสำนึกมากน้อยเพียงไรว่า ตนเองคือ ผู้มีวิชาชีพด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ เหมือนดังผู้ที่เรียนจบและทำงานด้านจิตวิทยา คลินิก หรือจิตวิทยาการให้คำปรึกษา ในทัศนะของผู้เขียนคงจะมีบัณฑิตและอาจารย์น้อยคนมากที่จะพูดว่าตนเองคือนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ สาเหตุของปัญหานี้จะได้กล่าวถึงต่อไปในตอนหน้าและ ประการสุดท้าย อนาคตของวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การในบริบทของสังคมไทยควรจะเป็นเช่นไร ทั้งในด้านการเรียน การสอน การวิจัย และการประกอบอาชีพ ปัญหาประการสุดท้ายนี้ นับว่าเป็นปัญหาที่น่าสนใจควรแก่การอภิปรายและหาข้อสรุปมากที่สุด เนื่องจากเป็นปัญหาที่เกี่ยวโยงถึงความก้าวหน้าและความตกต่ำของสาขาวิชาโดยตรง อีกทั้งยังเกี่ยวโยงถึงบทความนี้จึงมีจุดประสงค์สำคัญสองประการคือ
.......ประการที่ 1 มุ่งเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอน และการวิจัยด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การที่เหมาะสมกับประเทศไทย
.......ประการที่ 2 เพื่อ “จุดประกาย” ให้มีการอภิปรายถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการและอาจารย์ เพื่อสร้างความก้าวหน้าให้แก่วงการจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การของไทย สำหรับการนำเสนอสาระ ในส่วนแรกบทความนี้จะกล่าวถึงเป้าหมายของการผลิตบัณฑิตสาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ และในส่วนที่สองจะกล่าวถึงการเรียน การสอน และการวิจัยด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การที่เหมาะสมกับประเทศไทยเป้าหมายของการผลิตบัณฑิตสาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

.....การเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียน การสอน และการวิจัยด้านจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การจะไม่มีความสมบูรณ์และได้ทิศทาง หากขาดการทบทวนและพิจารณาเกี่ยวกับเป้าหมายของการผลิตบัณฑิตในสาขานี้เพราะเป้าหมายคือสิ่งที่มุ่งหวังจะให้ปรากฏเป็นจริงในอนาคตหรือผลลัพธ์ (end results) ส่วนการเรียน การสอน และการวิจัยคือ วิธีการ (means) ที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ปรารถนานั้นโดยทั่วไปแล้ว ปรัชญาและเป้าหมายการผลิตบัณฑิตของสถาบันการศึกษาต่างๆ ในระดับอุดมศึกษา มักจะอยู่ในทำนองที่ว่า “เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและคุณธรรม” ซึ่งหมายถึงว่า บัณฑิตเหล่านั้นควรจะมีความรู้ ทักษะ ความสามารถ และบุคลิกลักษณะที่ดีและเหมาะสมสำหรับการประกอบอาชีพและการดำเนินชีวิตเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว.....ปัญหาก็คือ ความรู้ ทักษะ ความสามารถ และบุคลิกลักษณะเหล่านั้นคืออะไร? มีลักษณะอย่างไร? และจะเสริมสร้างพัฒนาได้อย่างไร? สำหรับความรู้ ทักษะ ความสามารถ และบุคลิกลักษณะที่พึงประสงค์ ของบัณฑิตสาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ สามารถกำหนดได้โดยการพิจารณาจากปัจจัยสองประการดังต่อไปนี้คือ ประการแรก งานและภาระหน้าที่ที่จะต้องรับผิดชอบในฐานะนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ และ ประการที่สอง ความเปลี่ยนแปลงและแนวโน้มของสังคมไทยในอนาคต ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดดังต่อไปนี้งานและภาระหน้าที่ของนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ

.....ในสหรัฐอเมริกา นักจิตวิทยาสาขาต่างๆ รวมทั้งนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีจากหน่วยงานต่างๆ และสาธารณชน ในฐานะที่เป็นนักวิชาชีพ (professional) ที่มีบทบาทสำคัญต่อสังคมในทุกๆ ด้านในองค์การธุรกิจหรือหน่วยงานของรัฐจะมีตำแหน่งงานนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กาโดยเฉพาะ ทั้งนี้อันเนื่องมาจากกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับการจ้างงานของสหรัฐอเมริกา (เช่น the 1964 Civil Right Act, Title VII และฉบับแก้ไขปรับปรุงปี 1991) ได้ห้ามมิให้นายจ้างกีดกันผู้สมัครงาน/ผู้ทำงาน โดยการปฏิเสธการจ้างงานหรือการเลื่อนตำแหน่งอันเนื่องมาจากสีผิว เชื้อชาติ เพศ ศาสนา ฯลฯ ดังนั้น นายจ้างจึงมีภาระที่จะต้องพิสูจน์ (burden of proof) ความเหมาะสมของเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการประเมินบุคคล ซึ่งผู้ที่จะทำหน้าที่นี้ได้ก็คือ นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การนอกจากนี้แล้ว นักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ยังได้รับความยอมรับว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ และเหมาะสมที่จะทำงานด้านอื่นๆ อีกหลายด้านให้แก่องค์การ

สรุปงานและภาระหน้าที่ของนักจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การได้ดังต่อไปนี้ (Division of Industrial and Organizational Psychology, 1988)

.....1. การคัดเลือกและการจัดวางบุคลากร (personnel selection and placement)
..........1.1 การพัฒนาโครงการสำหรับการคัดเลือกบุคลากร
..........1.2 การจัดวางบุคลากรสำหรับตำแหน่งงานต่างๆ อย่างเหมาะสมที่สุด
..........1.3 การสำรวจระบุศักยภาพเชิงการจัดการของบุคลากร
.....2. การพัฒนาองค์การ (organizational development)
.........2.1 การวิเคราะห์โครงสร้างองค์การ
.........2.2 การเพิ่มระดับความพึงพอใจและประสิทธิภาพของบุคคลและหน่วยการทำงานให้ถึงระดับ
.........2.3 การช่วยเหลือสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงองค์การ
.....3. การฝึกอบรมและการพัฒนา (training and development)
..........3.1 การระบุความต้องการและความจำเป็นในการฝึกอบรมและการพัฒนา
..........3.2 การพัฒนาและการจัดโครงการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาทักษะด้านเทคนิค ด้านการจัดการและด้านการบังคับบัญชา
..........3.3 การประเมินผลประสิทธิภาพของโครงการฝึกอบรมและพัฒนา โดยใช้เกณฑ์ด้านผลิตภาพ (productivity) และความพึงพอใจ
.....4. การวิจัยด้านบุคลากร (personnel research)
..........4.1 การพัฒนาเครื่องมือทดสอบสำหรับการคัดเลือก การจัดวาง การจำแนก และการเลื่อนตำแหน่งของบุคลากร
..........4.2 การทดสอบความตรงของเครื่องมือต่างๆ
..........4.3 การวิเคราะห์งานที่มาของข้อมูล http://www.pantown.com/board.php?id=10895&name=board2&topic=2&action=view


จิตวิทยาการเรียนรู้ (Psychology of Learning)

ทฤษฎี Constructivism

.....มีหลักการที่สำคัญว่า ในการเรียนรู้ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้กระทำ (active) และสร้างความรู้ความเชื่อพื้นฐานของ Constructivism มีรากฐานมาจาก 2 แหล่ง คือจากทฤษฎีพัฒนาการของพีอาเจต์ และวิก็อทสกี้ทฤษฎี Constructivism จึงแบ่งออกเป็น 2 ทฤษฎี คือ
.....1. Cognitive Constructivism หมายถึงทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม ที่มีรากฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการของพีอาเจต์ ทฤษฎีนี้ถือว่าผู้เรียนเป็นผู้กระทำ(active) และเป็นผู้สร้างความรู้ขึ้นในใจเอง ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีบทบาทในการก่อให้เกิดความไม่สมดุลทางพุทธิปัญญาขึ้น เป็นเหตุให้ผู้เรียนปรับความเข้าใจเดิมที่มีอยู่ให้เข้ากับข้อมูลข่าวสารใหม่ จนกระทั่งเกิดความสมดุลทางพุทธิปัญญา หรือเกิดความรู้ใหม่ขึ้น
.....2. Social Constructivism เป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการของวิก็อทสกี้ ซึ่งถือว่าผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น (ผู้ใหญ่หรือเพื่อน) ในขณะที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรืองาน ในสภาวะสังคม(Social Context) ซึ่งเป็นตัวแปรที่สำคัญและขาดไม่ได้ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมทำให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยการเปลี่ยนแปรความเข้าใจเดิมให้ถูกต้องหรือซับซ้อนกว้างขวางขึ้น

คุณลักษณะของทฤษฎี Constructivism
.....1. ผู้เรียนสร้างความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง
.....2. การเรียนรู้สิ่งใหม่ขึ้นกับความรู้เดิมและความเข้าใจที่มีอยู่ในปัจจุบัน
.....3. การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีความสำคัญต่อการเรียนรู้
.....4. การจัดสิ่งแวดล้อม กิจกรรมที่คล้ายคลึงกับชีวิตจริง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมี
ความหมาย

.....ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวความรู้ความเข้าใจนี้ จำแนกย่อยออกเป็นหลายทฤษฎีเช่นกัน แต่ทฤษฎีซึ่งเป็นที่ยอมรับกันมากในระหว่างนักจิตวิทยาการเรียนรู้และนำมาประยุกต์ใช้กันมากกับสถานการณ์การเรียนการสอน ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบของบรูเนอร์ และทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของออซูเบล (Ausubel)

ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบของบรูนเนอร์
.....บรูนเนอร์ ได้ให้ชื่อการเรียนรู้ของท่านว่า “Discovery Approach” หรือ การเรียนรู้โดยการค้นพบ บรูนเนอร์เชื่อว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งนำไปสู่การค้นพบการแก้ปัญหา ผู้เรียนจะประมวลข้อมูลข่าวสาร จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และจะรับรู้สิ่งที่ตนเองเลือก หรือสิ่งที่ใส่ใจ การเรียนรู้แบบนี้จะช่วยให้เกิดการค้นพบ เนื่องจากผู้เรียนมีความอยากรู้อยากเห็น ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันที่ทำให้สำรวจสิ่งแวดล้อม และทำให้เกิดการเรียนรู้โดยการค้นพบ โดยมีแนวคิดที่เป็นพื้นฐาน ดังนี้
.....การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนมรปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง ผู้เรียนแต่ละคนจะมีประสบการณ์และพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน การเรียนรู้จะเกิดจากการที่ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบใหม่กับความรู้เดิมแล้วนำมาสร้างเป็นความหมายใหม่
.....บรูนเนอร์ ได้เห็นด้วยกับ พีอาเจต์ว่า คนเรามีโครงสร้างสติปัญญา (Congnitive Structure) มาตั้งแต่เกิด ในวัยทารกโครงสร้างสติปัญญายังไม่ซับซ้อน เพราะยังไม่พัฒนาต่อเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจะทำให้โครงสร้างสติปัญญามีการขยายและซับซ้อนขึ้น หน้าที่ของโรงเรียนก็คือการช่วยเอื้อการขยายของโครงสร้างสติปัญญาของนักเรียน นอกจากนี้บรูนเนอร์ ยังได้ให้หลักการเกี่ยวกับการสอนดังต่อไปนี้
.....1. กระบวนความคิดของเด็กแตกต่างกับผู้ใหญ่ เวลาเด็กทำผิดเกี่ยวกับความคิด ผู้ใหญ่ควรจะคิดถึงพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญา ซึ่งเด็กแต่ละวัยมีลักษณะการคิดที่แตกต่างไปจากผู้ใหญ่ ครูหรือผู้มีความรับผิดชอบทางการศึกษาจะต้องมีความเข้าใจว่าเด็กแต่ละวัยมีการรู้คิดอย่างไร และกระบวนการรู้คิดของเด็กไม่เหมือนผู้ใหญ่ (Intellectual Empathy)
.....2. เน้นความสำคัญของผู้เรียน ถือว่าผู้เรียนสามารถจะควบคุมกิจกรรม การเรียนรู้ของตนเองได้ (Self- Regulation) และเป็นผู้ที่จะริเริ่มหรือลงมือกระทำ ฉะนั้น ผู้มีหน้าที่สอนและอบรมมีหน้าที่จัดสิ่งแวดล้อมให้เอื้อการเรียนรู้โดยการค้นพบ โดยให้โอกาส ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
.....3. ในการสอนควรจะเริ่มจากประสบการณ์ที่ผู้เรียนคุ้นเคย หรือประสบการณ์ที่ใกล้ตัวไปหาประสบการณ์ที่ไกลตัว เพื่อผู้เรียนจะได้มีความเข้าใจ เช่น การสอนให้นักเรียนรู้จักการใช้แผนที่ ควรจะเริ่มจากแผนที่ของจังหวัดของผู้เรียนก่อนแผนที่จังหวัดอื่นหรือแผนที่ประเทศไทย
.....บรูนเนอร์ เชื่อว่า วิชาต่าง ๆ จะสอนให้ผู้เรียนเข้าใจได้ทุกวัยถ้าครูจะสามารถใช้วิธีการสอนที่เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ข้อสำคัญครูจะต้องให้นักเรียนเป็นผู้กระทำหรือเป็นผู้แก้ปัญหาเอง
.....บรูนเนอร์ ได้สรุปความสำคัญของการเรียนรู้โดยการค้นพบว่าดีกว่าการเรียนรู้ โดยวิธีอื่นดังต่อไปนี้
.....1. ผู้เรียนจะเพิ่มพลังทางสติปัญญา
.....2. เน้นรางวัลที่เกิดจากความอิ่มใจในสัมฤทธิผลในการแก้ปัญหามากกว่ารางวัล หรือเน้นแรงจูงใจภายในมากกว่าแรงจูงใจภายนอก
.....3. ผู้เรียนจะเรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยการค้นพบและสามารถนำไปใช้ได้
.....4. ผู้เรียนจะจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ดีและได้นาน

.....สรุปได้ว่า บรูนเนอร์ กล่าวว่า คนทุกคนมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจ หรือ การรู้คิดโดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า Acting, Imagine และ Symbolizing ซึ่งอยู่ในขั้นพัฒนาการทางปัญญาคือ Enactive, Iconic และ Symbolic representation ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดชีวิตมิใช่เกิดขึ้นช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตเท่านั้น บรูเนอร์เห็นด้วยกับ พีอาเจต์ ที่ว่า มนุษย์เรามีโครงสร้างทางสติปัญญา (Cognitive structure) มาตั้งแต่เกิดในวัยเด็กจะมีโครงสร้างทางสติปัญญาที่ไม่ซับซ้อน เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมจะทำให้โครงสร้างทางสติปัญญาขยาย และซับซ้อนเพิ่มขึ้น หน้าที่ของครูคือ การจัดสภาพสิ่งแวดล้อมที่ช่วยเอื้อต่อการขยายโครงสร้างทางสติปัญญาของผู้เรียน

ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของออซุเบล
.....ออซุเบล (Ausubel) บ่งว่า ผู้เรียนเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารด้วยการรับหรือด้วยการค้นพบ และวิธีเรียนอาจจะเป็นการเรียนด้วยความเข้าใจอย่างมีความหมายหรือเป็นการเรียนรู้โดยการท่องจำโดยไม่คิดออซุเบล จึงแบ่งการเรียนรู้ออกเป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
.....1. การเรียนรู้โดยการรับอย่างมีความหมาย (Meaningful Reception Learning)
.....2. การเรียนรู้โดยการรับแบบท่องจำโดยไม่คิดหรือแบบนกแก้วนกขุนทอง (Rote Reception Learning)
.....3. การเรียนรู้โดยการค้นพบอย่างมีความหมาย (Meaningful Discovery Learning)
.....4. การเรียนรู้โดยการค้นพบแบบท่องจำโดยไม่คิดหรือแบบนกแก้วนกขุนทอง (Rote Discovery Learning)
.....ออซุเบล สนใจที่จะหากฏเกณฑ์และวิธีการสอนการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ไม่ว่าจะเป็นโดยการรับหรือค้นพบ เพราะออซุเบลคิดว่าการเรียนรู้ในโรงเรียนส่วนมากเป็นการท่องจำโดยไม่คิดในที่นี้ จะขออธิบายเพียงการเรียนรู้อย่างมีความหมายโดยการรับรู้
.....การเรียนรู้โดยการรับอย่างมีความหมาย (Meaningful Reception Learning)
ออซุเบล ให้ความหมายว่าเป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับมาจากการที่ผู้สอนอธิบายสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ให้ฟังและผู้เรียนรับฟังด้วยความเข้าใจ โดยผู้เรียนเห็นความสัมพันธ์กับโครงสร้างพุทธิปัญญาที่ได้เก็บไว้ในความทรงจำ และจะสามารถนำมาใช้ในอนาคต
.....ออซุเบลได้บ่งว่าทฤษฎีของท่านมีวัตถุประสงค์ที่จะอธิบายการเรียนรู้เกี่ยวกับพุทธิปัญญาเท่านั้น (Cognitive learning) ไม่รวมการเรียนรู้ แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก การเรียนรู้ทักษะทางมอเตอร์ (Motor Skills learning) และการเรียนรู้โดยการค้นพบออซุเบล ได้บ่งว่า การเรียนรู้อย่างมีความหมายขึ้นอยู่กับตัวแปร 3 อย่าง ดังต่อไปนี้
.....สิ่ง (Materials) ที่จะต้องเรียนรู้จะต้องมีความหมาย ซึ่งหมายความว่าจะต้องเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งที่เคยเรียนรู้และเก็บไว้ในโครงสร้างพุทธิปัญญา (cognitive structure) ผู้เรียนจะต้องมีประสบการณ์ และมีความคิดที่จะเชื่อมโยงหรือจัดกลุ่มสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ให้สัมพันธ์กับความรู้หรือสิ่งที่เรียนรู้เก่า ความตั้งใจของผู้เรียนและการที่ผู้เรียนมีความรู้คิดที่จะเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ให้มีความสัมพันธ์กับโครงสร้างพุทธิปัญญา (Cognitive Strueture) ที่อยู่ในความทรงจำแล้ว

.....โดยสรุป ทฤษฎีการเรียนรู้ของออซุเบลเป็นทฤษฎีพุทธิปัญญานิยม ที่เน้นความสำคัญของครู ว่าครูมีหน้าที่ที่จะจัดเรียบเรียงความรู้อย่างมีระบบ และสอนความคิดรวบยอดใหม่ที่นักเรียนจะต้องเรียนรู้ ซึ่งแตกต่างกับแนวคิดของพีอาเจต์และบรูนเนอร์ที่เน้นความสำคัญของผู้เรียน นอกจากนี้ทฤษฎีของออซุเบลเป็นทฤษฎีที่อธิบายการเรียนรู้อย่างมีความหมายเท่านั้น
.
....ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา (Social Cognitive Learning Theory)
.....ศาสตราจารย์บันดูรา แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford) ประเทศสหรัฐอเมริกา บันดูรามีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ และเนื่องจากมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์ (interact) กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวอยู่เสมอบันดูราอธิบายว่าการเรียนรู้เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมในสังคม ซึ่งทั้งผู้เรียน และสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อกันและกันความคิดพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา
.....บันดูรา ได้ให้ความสำคัญของการปฏิสัมพันธ์ของอินทรีย์และสิ่งแวดล้อม และถือว่าการเรียนรู้ก็เป็นผลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อม โดยผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อกันและกัน บันดูราได้ถือว่าทั้งบุคคลที่ต้องการจะเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมเป็นสาเหตุของพฤติกรรมและได้อธิบายการปฏิสัมพันธ์ ดังนี้
.....บันดูรา ได้ให้ความแตกต่างของการเรียนรู้ (Learning) และการกระทำ Performance) ว่าความแตกต่างนี้สำคัญมาก เพราะคนอาจจะเรียนรู้อะไรหลายอย่าง แต่ไม่กระทำ เป็นต้นว่า นิสิตและนักศึกษาทุกคนที่กำลังอ่านตำรานี้คงจะทราบว่า การโกงในการสอบนั้นมีพฤติกรรมอย่างไร แต่นิสิตนักศึกษาเพียงน้อยคนที่จะทำการโกงจริง ๆ
.....บันดูราได้สรุปว่าพฤติกรรมของมนุษย์อาจจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
.....1. พฤติกรรมสนองตอบที่เกิดจากการเรียนรู้ ผู้ซึ่งแสดงออก หรือ กระทำสม่ำเสมอ
.....2. พฤติกรรมที่เรียนรู้แต่ไม่เคยแสดงออกหรือกระทำ
.....3. พฤติกรรมที่ไม่เคยแสดงออกทางการกระทำ เพราะไม่เคยเรียนรู้จริง ๆ
.....บันดูรา ได้ให้ความแตกต่างของการเรียนรู้ (Learning) และการกระทำ (Performance) ว่าความแตกต่างนี้สำคัญมาก เพราะคนอาจจะเรียนรู้อะไรหลายอย่างแต่ไม่กระทำ เป็นต้นว่า นิสิตและนักศึกษาทุกคนที่กำลังอ่านตำรานี้คงจะทราบว่า การโกงในการสอบนั้นมีพฤติกรรมอย่างไร แต่นิสิตนักศึกษาเพียงน้อยคนที่จะทำการโกงจริง ๆ บันดูราได้สรุปว่าพฤติกรรมของมนุษย์อาจจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท
.....1. พฤติกรรมสนองตอบที่เกิดจากการเรียนรู้ ผู้ซึ่งแสดงออก หรือ กระทำสม่ำเสมอ
.....2. พฤติกรรมที่เรียนรู้แต่ไม่เคยแสดงออกหรือกระทำ
.....3. พฤติกรรมที่ไม่เคยแสดงออกทางการกระทำ เพราะไม่เคยเรียนรู้จริง ๆ

.....บันดูรา ไม่เชื่อว่าพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจะคงตัวอยู่เสมอ ทั้งนี้เป็นเพราะสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและทั้งสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน ตัวอย่างเช่น เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวก็คาดหวังว่าผู้อื่นจะแสดงพฤติกรรม ก้าวร้าวต่อตนด้วย ความคาดหวังนี้ก็ส่งเสริมให้เด็กแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว และผลพวงก็คือว่า เด็กอื่น (แม้ว่าจะไม่ก้าวร้าว) ก็จะแสดงพฤติกรรมตอบสนองแบบก้าวร้าวด้วย และเป็นเหตุให้เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวยิ่งแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการย้ำความคาดหวังของตน บันดูราสรุปว่า “เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว จะสร้างบรรยากาศก้าวร้าวรอบ ๆ ตัว จึงทำให้ เด็กอื่นที่มีพฤติกรรมอ่อนโยนไม่ก้าวร้าวแสดงพฤติกรรมตอบสนองก้าวร้าว เพราะเป็นการแสดงพฤติกรรมต่อสิ่ง แวดล้อมที่ก้าวร้าว”

.....แหล่งที่มา http://tupadu.multiply.com/journal/item/2

ทฤษฎีการเรียนรู้ทางด้านจิตวิทยามี 3 กลุ่มคือ
1. กลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม นักจิตวิทยาที่อยู่ในกลุ่มนี้คือ
.....1.1 อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov, 1849–1936) นักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory) หรือ แบบสิ่งเร้า
.....1.2 จอห์น บี วัตสัน (John B Watson คศ.1878 – 1958) ทฤษฎี การเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคที่เกิดขึ้นกับมนุษย์
.....1.3 เบอร์รัส สกินเนอร์ (Burrhus Skinner) ทฤษฎีการเรียนรู้ การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning theory)
.....1.4 เพียเจท์ (Jean Piaget) การจัดการเรียนรู้ที่ครูเป็นผู้ให้ข้อมูลและนักเรียนเป็นผู้รับข้อมูล ครูยิ่งให้ข้อมูลมากเท่าไร นักเรียนก็ยิ่งรับข้อมูลได้มากเท่านั้น
.....1.5 กาเย่ ( Gagne ) ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น- การจูงใจ ( Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจใน การเรียนรู้
...........- การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ
...........- การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะยาว- ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
...........- ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase)
...........- การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
...........- การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase)
...........- การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน ( Feedback Phase) ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็วจะทำให้มีผลดีและประสิทธิภาพสูง
.....1.6 ธอร์นไดค ทฤษฎีการเชื่อมโยง
2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม นักจิตวิทยาที่อยู่ในกลุ่มนี้คือ
.....2.1 เดวิค พี ออซุเบล ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
.....2.2 Gestalt Psychologist ทฤษฎีการใช้ความเข้าใจ (CognitiveTheory)
.....2.3 โคท์เลอร์ (Kohler, 1925) การเรียนรู้โดยการหยั่งรู้ (Insight Learning)
.....2.4 Jero Brooner ทฤษฏีการเรียนรู้แบบค้นพบ
.....2.5 Piaget ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
3. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม นักจิตวิทยาที่อยู่ในกลุ่มนี้คือ
.....3.1 ศาสตราจารย์บันดูรา แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford) ประเทศสหรัฐอเมริกา การเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ (Observational Learning หรือ Modeling)
.....3.2 Anthony Grasha กับ Sheryl Riechmann ทฤษฎีการสังเกตจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครูผู้สอน และสังเกตจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับเพื่อนร่วมห้อง
.....3.3 เลวิน (Lawin) ทฤษฎีสนาม
.....3.4 Robert Slavin และคณะทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมกันเรียนรู้
.....3.5 David Johnson และคณะทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้
.....3.6 Shlomo และ Yael Sharan ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ในงานเฉพาะอย่างทฤษฎีทางจิตวิทยาสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเทคโนโลยีการศึกษาได้อย่างไรเทคโนโลยีการศึกษา คือ การนำเอาเทคนิค วิธีการและวัสดุอุปกรณ์มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ การพัฒนา การนำไปใช้ การจัดการและการประเมินการเรียนการสอน เพื่อแก้ไขปัญหาและทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การผลิตสื่อ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน, เว็บการสอน, E – Learning การจัดรูปแบบการเรียนการสอน การสร้างเทคนิคการสอน เป็นต้น

ทฤษฎีทางจิตวิทยาได้นำมาใช้ในเทคโนโลยีการศึกษา ดังนี้
1. การผลิตสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม (Behavioral Learning Theory)ใช้ในการออกแบบและพัฒนาบทเรียนโดยใช้ทฤษฎีของกาเย่ ( Gagne ) ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ดังนี้
.....- สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในบทเรียน
.....- แจ้งจุดประสงค์ บอกให้ผู้เรียนทราบถึงผลการเรียน เห็นประโยชน์ในการเรียน ให้แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียน
.....- กระตุ้นให้ผู้เรียนทบทวนความรู้เดิมที่จำเป็นต่อการเชื่อมโยงไปหาความรู้ใหม่ เสนอบทเรียนใหม่ๆ ด้วยสื่อต่างๆ ที่เหมาะสม
.....- ให้แนวทางการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถทำกิจกรรมด้วยตนเอง ผู้สอนแนะนำวิธีการทำกิจกรรม แนะนำแหล่งค้นคว้าต่างๆ
.....- กระตุ้นให้ผู้เรียนลงมือทำแบบฝึกปฏิบัติ
.....- ให้ข้อมูลย้อนกลับ ผู้เรียนทราบถึงผลการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ
.....- การประเมินผลการเรียนตามจุดประสงค์
.....- ส่งเสริมความแม่นยำ การถ่ายโอนการเรียนรู้ โดยการสรุป การย้ำ การทบทวน
2. การผลิตสื่อเว็บการสอนจะใช้ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive Learning Theory) ใช้ในการการออกแบบและพัฒนาบทเรียนโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบ ของ Jero Brooner เพื่อให้ผู้เรียนจะต้อง ศึกษาและค้นคว้าด้วยตนเอง จะต้องสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้สอน ผู้เรียนร่วม ผู้สนใจ และบุคคลอื่นๆ ในระบบได้ทั้วโลก โดยมีแนวคิดพื้นฐาน คือ
.....1. การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง
.....2. ผู้เรียนแต่ละคนจะมีประสบการณ์และพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน การเรียนรู้จะเกิดจากการที่ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบใหม่กับความรู้เดิมแล้วนำมาสร้างเป็นความหมายใหม่
3. การจัดรูปแบบการเรียนการสอนจะใช้ทฤษฎีทางจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยม มาใช้ในการจัดรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ทฤษฎีของ เลวิน (Lawin) ทฤษฎีสนาม มาใช้โดยการให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมกลุ่ม ได้เรียนรู้กับเพื่อนๆในกลุ่ม เป็นการเรียนแบบร่วมมือเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน สามารถสรุปใจความสำคัญของทฤษฎีสนามเพื่อนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมกลุ่มได้ดังนี้
.....1. พฤติกรรมเป็นผลจากพลังความสัมพันธ์ของสมาชิกกลุ่ม
.....2. โครงสร้างกลุ่มเกิดจากการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีลักษณะแตกต่างกัน
.....3. การรวมกลุ่มแต่ละครั้งจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มเช่น ในรูปการกระทำ (act) ความรู้สึกและความคิด4. องค์ประกอบต่างๆ ดังกล่าว จะก่อให้เกิดโครงสร้างของกลุ่ม แต่ละครั้งที่มีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสมาชิกกลุ่ม5. สมาชิกกลุ่มจะมีการปรับตัวเข้าหากันและพยายามช่วยกันทำงานจะก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและทำให้เกิดพลังหรือแรงผลักดันของกลุ่มจิตวิทยาร่วมสมัยจิตวิทยา หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต), กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์“ ร่วมสมัย ” หรือ Contemporary

จากความหมายต่าง ๆ เหล่านี้สามารถสรุปออกมาได้ดังนี้คือ
........Contempory หมายถึง เกิดขึ้น มีชีวิตอยู่ หรือเข้ามาในเวลา เดียวกัน ในปีเดียวกัน ในทศวรรษ ศตวรรษ หรือสมัยเดียวกัน" คำว่าร่วมสมัย เป็นคำใช้คำประกอบคำอื่นเพื่อบอกลักษณะ เช่น เพลงร่วมสมัย ภาพเขียนร่วมสมัย ศิลปะร่วมสมัย วรรณกรรมร่วมสมัย กวีร่วมสมัย เป็นต้น ส่วนใหญ่ใช้กับงานศิลปะมากกว่าด้านวิทยาศาสตร์ หรือหมายถึง
.........1. อยู่ในสมัยเดียวกัน ซึ่งมีชีวิตอยู่ในสมัยเดียวกับบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
.........2. เป็นของสมัยปัจจุบัน ซึ่งมีชีวิตอยู่ในสมัยเดียวกับเราขณะนี้
.........3. "ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย" หมายถึงเหตุการณ์ตอนที่เกี่ยวกับเรื่องราวในปัจจุบันนับตั้งแต่ ค.ศ. 1789 เป็นต้นมา
.........4. ร่วมเวลา หรือร่วมความคิดและร่วมอายุกันดังนั้นคำว่า จิตวิทยาร่วมสมัยจึงหมายถึงการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวกับการเรียนรู้และพัฒนาหลักการและการประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลทางจิตวิทยา พฤติกรรมทางสังคมของบุคคลและกลุ่มเกี่ยวกับการรับรู้ การเรียนรู้ การเปลี่ยนทัศนคติ การช่วยเหลือและการต่อต้านทางสังคม พฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศ ความก้าวร้าว จิตวิทยาการนำและการทำงานเป็นทีม การจัดการความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ หลักการคิดและการใช้เหตุผล วิเคราะห์ และอธิบายประเด็นปัญหาพฤติกรรมทางสังคม ให้บุคคลรู้จักตน เข้าใจคน และปรับตัวได้ซึ่งแม้ศาสตร์ความรู้ ๆ ทางด้านจิตวิทยาจะเป็นความรู้ที่มีนักจิตวิทยาที่คิดค้นขึ้นหรือให้ความหมายไว้ในอดีตหรือในปัจจุบันแต่ถ้าความรู้เหล่านั้นมีแนวความคิดที่คล้ายคลึงกัน อยู่ในแนวเดียวกัน หรือแนวคิดนั้นพึงเป็นแนวคิดที่จะสร้างสรรค์ประโยชน์ให้เกิดแก่มวลชนเป็นสำคัญ ก็ถือว่าศาสตร์ความรู้นั้นเป็นจิตวิทยาร่วมสมัยจิตวิทยาร่วมสมัยที่นำมาใช้ในเทคโนโลยีการศึกษา คือ การนำเอาหลักการ ทฤษฎีความรู้ต่าง ๆ ทางด้านจิตวิทยามาใช้ในเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ การพัฒนา การนำไปใช้ การจัดการและการประเมินการเรียนการสอน เพื่อแก้ไขปัญหาและทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ทฤษฎีทางจิตวิทยาใดถือว่าเป็นจิตวิทยาที่ร่วมสมัย
......1. ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้นของกาเย่ ( Gagne ) เพราะ เป็นทฤษฎี ที่ กาเย่ได้ให้ความหมายไว้ในปี 1977 แต่ในปัจจุบันก็ยังสามารถนำทฤษฎีนี้มาใช้ได้ ซึ่งในอดีตจะใช้ทฤษฎีนี้ในการจัดรูปแบบการเรียนการสอนซึ่งผู้สอนอาจจะมอบหมายงาน หรือให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดซึ่งจะใช้ทฤษฎีนี้มาใช้ในการทำงานของผู้เรียนแต่ในปัจจุบันมักจะใช้ทฤษฎีนี้ในการออกแบบและพัฒนาสื่อการสอน เช่น สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, เว็บการสอน
......2. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการสังเกตหรือการเลียนแบบ ทฤษฎีของศาสตราจารย์บันดูรา (Bandura 1963) เนื่องจากมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์ (Interact) กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวอยู่เสมอ จึงอธิบายได้ว่า การเรียนรู้เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมในสังคม ซึ่งทั้งผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อกันและกัน ซึ่งทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีที่ร่วมสมัยเพราะ มนุษย์เป็นสัตว์สังคมและผู้เรียนจะต้องพบกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากมาย ผู้เรียนจะต้องเลือกสังเกตสิ่งที่ต้องการเรียนรู้โดยเฉพาะ และสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ผู้เรียนจะต้องมี การเข้ารหัส (Encoding) ในความทรงจำระยะยาวได้อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ ผู้เรียนต้องสามารถที่จะประเมินได้ว่าตนเลียนแบบได้ดี หรือไม่ดีอย่างไร และจะต้องควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้ด้วย ซึ่งทฤษฎีสามารถนำมาใช้ได้ทั้งอดีตและปัจจุบันเพราะผู้เรียนก็คือมนุษย์และลักษณะนิสัยพื้นฐานของมนุษย์นั้นมักจะเลือกจดจำหรือเลียนแบบพฤติกรรมจากสิ่งแวดล้อมรอบข้างทั้งจากผู้สอน เพื่อนร่วมชั้นเรียนหรือบุคคลในครอบครัว เช่น ผู้เรียนบางคนจะเลียนแบบพฤติกรรมของอาจารย์ผู้สอนโดยจะกระทำตัวเป็นผู้นำหรือสอนการบ้านเพื่อน ๆ เพราะเห็นว่าพฤติกรรมของอาจารย์ผู้สอนเป็นพฤติกรรมที่ดีได้รับ การยอมรับผู้เรียนจึงอยากกระทำตาม เป็นต้น